วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เครื่องมือการคิดเชิงระบบที่ 6 ผังต้นไม้

แผนผังต้นไม้(Tree Diagram)
 ในอดีตท่านคงคุ้นเคยกับการจัดทำแผนผังครอบครัว  (Family  Tree)  และการจัดแผนผังองค์กร  (Organization  Chart)  มาแล้ว  แผนผังต้นไม้นี้ก็ได้รับการพัฒนามาในแนวทางเดียวกัน  นี้เอง
แผนผังต้นไม้คืออะไร
   แผนผังต้นไม้  เป็นแผนผังที่ใช้ในการหามาตรการที่ดีที่สุดจากหลาย ๆ  มาตรการเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้

เมื่อไรจึงจะใช้แผนผังต้นไม้   1. เมื่อต้องการแก้ปัญหาโดยมีการกำหนดมาตรการไว้อย่างเป็นระบบ
   2. เมื่อต้องการให้สมาชิกกลุ่มมีมติที่มีความสอดคล้องกัน
   3. เมื่อต้องการแสดงความสัมพันธ์ของปัญหากับมาตรการแก้ไขในรูปของแผนผัง  ซึ่งทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ

วิธีการสร้างแผนผังต้นไม้
ขั้นตอนที่  1  ตั้งเป้าหมาย

   1.1 การตั้งเป้าหมายนั้นอาจจะตั้งจากปัญหาที่ถูกตั้งไว้ในแผนผังก้างปลา  (Cause  and  Effect  Diagram)  หรือ  แผนผังความสัมพันธ์  (Relation  Diagram)  หรือปัญหาที่ได้มาจากที่ใด ๆ  ก็ได้ที่ท่านต้องการจะแก้ไข  จากนั้นให้เขียนเป้าหมายนี้ลงในบัตร  (Card)  แล้ววางบัตรนี้เอาไว้ที่ซ้ายมือสุด  ตรงกลางของกระดาษแผ่นใหญ่
   1.2 เป้าหมายที่ตั้งนั้นหากมีข้อจำกัดหรือข้อกำหนดเงื่อนไขใด ๆ  ให้เขียนข้อความเหล่านั้นลงในบัตรด้วยเช่นกัน


   ในการตั้งเป้าหมายนั้น  ประโยคจะต้องสั้น  ง่าย  และกระชับ  เพื่อให้ทุก ๆ  คนเข้าใจ  และจะต้องให้สมาชิกกลุ่มทุกคนเข้าใจด้วยว่า  เหตุใดจึงตั้งเป้าหมายนี้ขึ้นมา  เพราะอะไร

ขั้นตอนที่  2  สร้างชุดมาตรการการแก้ปัญหา   2.1 สมาชิกร่วมกันปรึกษาหารือกันว่ามาตรการใดเป็นมาตรการสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายนั้นได้บ้าง  ซึ่งในขั้นตอนนี้เราจะได้  “มาตรการขั้นที่  1”
   2.2 นำมาตรการในขั้นที่  1  ที่ถูกเลือกมาเขียนลงในบัตร  แล้วนำไปเรียงไว้ที่ด้านขวาของบัตรเป้าหมายที่ได้จากขั้นตอนที่  1
   2.3 บัตรที่ได้จากข้อ  2.2  แต่ละบัตร  กลายเป็นเป้าหมาย  และให้หาต่อไปว่า  มาตรการที่จะแก้ไขบัตรมาตรการที่หนึ่งนั้น  จะต้องมีมาตรการอย่างไรต่อบ้าง  กลายเป็นบัตรมาตรการขั้นที่  2, 3  ไปเรื่อย ๆ  จะกระทั่งเจอมาตรการที่พอจะแก้ไขได้  หรือปฏิบัติได้จริง

ขั้นตอนที่  3  ตรวจสอบมาตรการ  และความหมายของความสัมพันธ์
   ให้ตรวจสอบดูบัตรมาตรการทั้งหมดที่ได้จากขั้นตอนที่  2  และตรวจสอบว่ามีอะไรตกหล่นบ้างหรือไม่  และมีความขัดแย้งใดเกิดขึ้นหรือไม่  โดยในการตรวจสอบนั้น  ให้ทำการตรวจสอบ  2  มุมดังต่อไปนี้
   3.1 มาตรการนี้สามารถแก้ปัญหาให้บรรลุผลสำเร็จได้จริงหรือไม่
   3.2 มีทางเป็นไปได้หรือไม่ที่จะบรรลุเป้าหมายได้โดยการใช้มาตรการนี้  เรียกง่าย ๆ  ว่า  ทดลองตรวจสอบจากซ้ายไปขวา  และจากขวาไปซ้าย

ถามจากซ้ายไปขวาเช่น การจะสนับสนุนนักกีฬาให้ติดทีมชาติไทยนั้นต้องมีเทคนิคด้านการกีฬาใหม่ ๆ  การจะมีเทคนิคการกีฬาใหม่ ๆ  เมื่อจัดจ้างโค้ชจากต่างชาติ
   การจะได้โค้ชต่างชาติมาต้อง.......
   (ดำเนินการถาม  “อย่างไร – อย่างไร”  ต่อไปจนกว่าจะได้มาตรการสุดท้าย)

ในขณะเดียวกันทดลองถามกลับจากขวาไปซ้ายบ้าง
เช่น การจัดจ้างโค้ชจากต่างชาติมา  ทำให้เราได้เทคนิคกีฬาใหม่ ๆ  (จริงหรือไม่)
      เมื่อได้เทคนิคใหม่ ๆ  มา  จะช่วยให้นักกีฬาติดทีมชาติไทยได้  (จริงหรือไม่)

ขั้นตอนที่  4  กำหนดโครงต้นไม้
   เมื่อตรวจสอบแล้วว่าไม่ขัดแย้งกัน  ให้นำบัตรมาตรการไปติดไว้ที่กระดาษในตำแหน่งที่เหมาะสม  (ด้านขวามือของเป้าหมายของแต่ละอัน)  จากนั้นก็ลากเส้นเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายกับมาตรการ  เพื่อทำการสร้างแผนผังต้นไม้

ขั้นตอนที่  5  กำหนดแผนปฏิบัติการ
   สุดท้าย  ทำการกำหนดแผนปฏิบัติการ  โดยกำหนดตามหลักการของ  “5W  2H”  (What,  Why,  Who,  When,  Where,  How  and  How  much)

เมื่อไรจึงจะใช้แผนผังต้นไม้
   โดยทั่ว ๆ  ไปเราอาจเห็นหน้าตาของแผนผังต้นไม้ในหลายรูปแบบด้วยกัน  บางรูปแบบอาจใช้สำหรับเพียงแค่ภาพ  เพื่ออธิบายโครงสร้างขององค์กร  แต่สำหรับแผนผังต้นไม้ที่ใช้ในการแก้ปัญหานั้น  สามารถแบ่งได้เป็น  2  ลักษณะใหญ่ ๆ  ด้วยกัน  คือ
   1. ประเภทการวิเคราะห์แบบ  Why – Why  Tree
   2. ประเภทการวิเคราะห์แบบ  How – How  Tree
   ความแตกต่างของ  Why–Why  Analysis  กับ  How–How  Analysis
   Why–Why  จะใช้เมื่อเราต้องการจะวิเคราะห์หาสาเหตุรากเหง้า  (Root  Cause)  ของปัญหา  เพื่อสร้างแผนปฏิบัติการที่จุดนั้น ๆ  โดยที่ยอดของแผนผังต้นไม้  จะแสดงปัญหาที่เกิดขึ้น

ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหาด้วย  Why – Why  Tree

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น